Last updated: 11 ก.ค. 2563 | 1675 จำนวนผู้เข้าชม |
การวางแผนสินค้าคงคลัง
ความหมายอย่างง่ายๆ คือ การวางแผนบริหารสินค้าคงเหลือหลังจากการสั่งซื้อและการดำเนินการขายให้มีความสมดุลย์ในแต่ละธุรกิจเพื่อป้องกันสินค้าขาดจำหน่าย และ ป้องกันเงินทุนหมุนเวียนไปอยู่ที่สินค้าคงคลังโดยไม่จำเป็น ในอดีตการจัดเก็บสินค้าคงคลังมีแนวคิดเตรียมความพร้อมไว้ก่อน นั่นคือต้องมีสินค้าให้พร้อมขายให้มากที่สุดเพื่อป้องกันการขาดตลาด หรือ ป้องกันการเสียโอกาสแข่งขัน จึงมีการเตรียมพื้นที่สำหรับการจัดเก็บ และ การสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากเข้ามา ทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายไปพร้อมกัน และ ต้องเตรียมกำลังคนและเครื่องมือเพื่อดูแลสินค้า ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นกว่าเดิมมาก แต่ในอดีตการแข่งขันในธุรกิจเป็นการเน้นที่ความพร้อม ใครมีสินค้าพร้อมก่อนก็จะมีโอกาสขายก่อน จึงไม่เรียกว่าเป็นการบริหารที่ผิดพลาดใดๆ และการแข่งขันด้านราคาและการหาสินค้าทดแทนได้ยากกว่าสมัยปัจจุบัน แต่เป็นการบริหารที่เหมาะสมกับภาวะในเวลานั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับปัจจุบันที่การแข่งขันเน้นด้านต้นทุน และ เน้นเรื่องความทันเวลา ทำให้ต้องมีการวางแผนมากขึ้นและเตรียมความพร้อมให้ต้นทุนต่ำที่สุด เพราะการแข่งขันมีความสามารถมากกว่าสมัยก่อน การมีสินค้าคงคลังมากเกินไปก็ไม่ใช่คำตอบเช่นเดียวกับอดีตอีกต่อไป และ การทำให้ต้นทุนสูงขึ้นก็อาจจะทำให้มีปัญหามากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะการแข่งขันในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แค่คู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน แต่กลายเป็นต้องแข่งขันกับธุรกิจที่สามารถทดแทนเราได้ ทำให้สินค้าที่เรามีอาจจะล้าสมัยหรือสู้ราคากันไม่ได้ รวมไปถึงการมีพันธมิตรที่มากกว่าสมัยก่อนที่ทุกคนเป็นเจ้าหลักๆไม่ค่อยจับมือกัน กลายเป็นพันธมิตรกันแทนก็มีมากขึ้น ยิ่งมีสินค้าคงคลังมากเกินไป อาจจะทำให้การต่อรองยากกว่าเดิมด้วยซ้ำแทนที่จะเป็นประโยชน์เหมือนสมัยก่อน เพราะเราจะกลายเป็นมีข้อจำกัดมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากการวางแผนผิดมีสินค้ามากเกินไปทำให้เราต้องเร่งระบายสินค้าออกให้ทันกับการแข่งขัน จนทำให้ต้องลดราคา หรือ ทำแผนการตลาดที่ทำให้กำไรลดลงได้ เราควรมากำหนดข้อจำกัดคร่าวๆ เพื่อให้สามารถวางแผนสินค้าคงคลังได้ดียิ่งขึ้น
การวางแผนสินค้าคงคลังที่เหมาะสม ควรคำนึงถึง ข้อจำกัดในด้านต่างๆ ดังนี้
ข้อจำกัดต่างๆเหล่านี้ คือข้อจำกัดที่การวางแผนสินค้าจำเป็นต้องเข้าใจในธุรกิจของตนเองเพื่อบริหารให้มีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม เพราะแต่ละธุรกิจมีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะอยู่ในธุรกิจเดียวกันหรือคล้ายกันก็ตาม เพราะข้อจำกัดต่างๆ ขึ้นอยู่กับการวางแผนในการดำเนินการที่สามารถทำได้จริงๆเท่านั้น ถึงจะมีประสิทธิภาพ การวางแผนสินค้าคงคลังจึงต้องคำนึงถึงความเป็นจริงที่ต้องการของธุรกิจ เพราะสินค้าคงคลังจะสะท้อนออกมาในรูปแบบ ต้นทุนขาย และ ค่าใช้จ่าย (ค่าเช่า,ค่าดำเนินการ) ซึ่งแต่ละธุรกิจต้องบริหารต้นทุนขายให้ต่ำเท่าที่จะสามารถทำได้เพื่อให้ได้กำไรขั้นต้นที่สูงขึ้น ก่อนจะไปหักค่าใช้จ่ายในการบริหารต่อไป จนไปเหลือกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี นั้นเอง
บริษัท A ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต
การมีสินค้าคงคลังจึงต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิต และ การจัดเก็บให้สอดคล้องกัน และนำความสามารถในการจำหน่ายมาเป็นตัวแสดงศักยภาพของธุรกิจ ซึ่งสินค้าคงคลังต้องไม่เหลือหรือเหลือต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการผลิต ต้องคำนึงถึงความสามารถในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปให้ได้ตามวัตถุดิบที่เตรียมไว้ และเสียหายต่ำที่สุด ดังนั้น เมื่อผลิตออกมาแล้วจึงจำเป็นต้องจำหน่ายให้หมดทุกชิ้น ในบางกรณีเราจะเห็นการเคลียร์ล้างสต๊อกก็ด้วยเหตุผลดังกล่าวคือผลิตออกมาแล้วจำหน่ายไม่หมดก็จะมีปัญหาเรื่องพื้นที่จัดเก็บ และ สินค้าหมดสภาพได้ หากไม่ทำการเคลียร์ออกไปก็จะไม่สามารถนำสินค้าชุดใหม่เข้ามาจัดเก็บได้
บริษัท B เป็นบริษัท ซื้อมาขายไป
การมีสินค้าคงคลังยอมหมายถึงการเตรียมสินค้าไว้เพื่อจำหน่ายก่อนการขาย ทำให้ต้องบริหารกระแสเงินสดและช่องทางขายให้มีความพร้อมของสินค้าก่อนการจำหน่าย ซึ่งหากการหมุนเวียนสินค้าไม่สัมพันธกับการจำหน่ายจะทำเกิดปัญหากระแสเงินสดติดขัด หรือ ทำให้สินค้าหมดความสามารถในการแข่งขันได้ และ เงินสดในบริษัทฯอาจจะหมุนเวียนไม่ทันก่อให้เกิดความเสียหายตามมา อีกทั้งต้นทุนด้านการจัดการก็จะสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น และ เช่นเดียวกันการมีสินค้าเก่าค้างสต๊อกมากเกินไป จะทำให้ไม่สามารถนำสินค้าชุดใหม่มาทดแทนได้ ก็จะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลมากขึ้น
ดังนั้นควรให้ความเข้าใจในธุรกิจของท่านให้มากขึ้นว่ามีความต้องการสินค้าคงคลังแบบไหน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปด้วยความมั่นคง
นิพนธ์ ศรแก้ว
บริษัท ล๊อกแมท อินทิเกรชั่น จำกัด
27 ต.ค. 2566
27 มี.ค. 2566
27 ต.ค. 2566
8 ธ.ค. 2562